D/E Ratio คืออะไร? บอกอะไรเราได้บ้าง
DE Ratio คืออะไร? บอกอะไรเราได้บ้าง
DE Ratio หรือ Debt to Equity Ratio คือ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น เป็นอัตราส่วนที่จะทำให้เราเห็นว่า บริษัทมีหนี้สินมากกว่าส่วนของผู้ถือหุ้นเท่าไหร่
DE Ratio
“สำหรับเงินทุนทุกๆ 1 บาทที่เจ้าของกิจการลงไป บริษัทได้จัดหาเงินทุนจากการกู้ยืมมาเป็นจำนวนกี่บาท?” 1 ตัวอย่างเช่น หากบริษัทมี D/E Ratio เท่ากับ 1.5 เท่า หมายความว่าบริษัทมีหนี้สิน 1.5 บาทสำหรับทุกๆ 1 บาทของส่วนของผู้ถือหุ้น 2
เรียกได้ว่า DE Ratio เป็นอัตราส่วนที่บอกให้เราเข้าใจถึงความเสี่ยงและความมั่นคงของบริษัทจริงๆ ซึ่งจะตีแผ่ให้เราเห็นเลยว่า บริษัทพึ่งพาการกู้ยืมในการดำเนินธุรกิจสูงมากแค่ไหน
อะไรคือ 'หนี้สิน' และ 'ส่วนของผู้ถือหุ้น’
หนี้สินทั้งหมดเราสามารถนำมาคิดได้เลยไหม หรือมีวิธีการที่ดีกว่าที่จะเข้ามาช่วยให้การคำนวณถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น ซึ่งก็จะแบ่งหนี้ส่วน เป็น 2 ตัวหลักเลยก็คือ
หนี้สินรวม
เรียกได้ว่าเราทุกคนคงเคยเห็นคุ้นตากันอยู่แล้วในงบการเงิน ซึ่งหนี้สินรวม จะรวมภาระหนี้สินทั้งหมดของบริษัทเลย ไม่ได้แยกเฉพาะหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยเท่านั้น
หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย
หนี้สินประเภทนี้จะประกอบไปด้วย เงินกู้ยืมระยะสั้น หนี้สินระยะยาว ซึ่งวิธีนี้จะคัดเอาหนี้สินที่ไม่มีภาระดอกเบี้ย อย่าง เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย และรายรับล่วงหน้า ออกไปเพราะหนี้สินเหล่านี้จะมองว่าเป็น ส่วนหนึ่งของวงจรการดำเนินงานปกติ ซึ่งการใช้หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยมาคิด จะสะท้อนความเสี่ยงได้ดีกว่า
โดยเฉพาะอย่างบริษัทที่มีเจ้าหนี้การค้าสูง อย่างธุรกิจค้าปลีก การใช้หนี้สินรวมอาจจะทำให้ ค่าของ DE สูงเกินกว่าที่จะควรจะเป็น
ส่วนของผู้ถือหุ้น
มูลค่าสุทธิที่เป็นสิทธิของผู้ถือหุ้นในกิจการ ซึ่งคำนวณได้จากทรัพย์สินทั้งหมดของบริษัทหักด้วยหนี้สินทั้งหมด โดยแสดงใน งบแสดงฐานะการเงิน (งบดุล)
วิธีการคำนวณ: พร้อมตัวอย่าง
สูตร
ตัวอย่าง
บริษัท ก. มีหนี้สินรวม 300 ล้านบาท และมีส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 200 ล้านบาท
เมื่อเราเข้าใจตัวเลขสำคัญอย่าง D/E Ratio แล้ว ทั้งคืออะไร และการคำนวณยังไง? ต่อมาเราก็จะมาทำความเข้าใจเพิ่มว่า D/E Ratio มีค่าเท่าไหร่ถึงดี
แต่สำหรับใครที่ยังไม่เข้าใจ ก็สามารถเข้าไปเรียน คลาส งบการเงินสำหรับมือใหม่ ได้เลย
เพียงแค่มีบัญชี กับ Liberator ก็สามารถเรียนฟรี คลาสหุ้นมูลค่าหลักแสน กว่า 70 คลาสเรียน
DE Ratio เท่าไหร่ถึงเรียกว่าดี?
D/E Ratio < 1 แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีหนี้สินน้อยกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น เพราะบริษัทมีความเสี่ยงทางการเงินต่ำไม่มีภาระหนี้สินเยอะ บริษัทใช้เงินทุนจากส่วนของเจ้าของมากกว่าเจ้าหนี้
D/E Ratio = 1 แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีหนี้สินเท่ากับส่วนของผู้ถือหุ้นพอดี หนี้สินเท่ากับส่วนของทุน
D/E Ratio > 1 แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีหนี้สินมากกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น บริษัทใช้หนี้ในการดำเนินกิจการสูง ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาที่ตามมาภายหลัง อย่างภาระดอกเบี้ยจ่าย และเรื่องการชำระหนี้ ถ้าปีนั้นๆ บริษัททำกำไรไม่ได้ตามที่คาดหวังก็อาจจะส่งผลให้บริษัทไม่สามารถชำระหนี้ได้
แล้วเท่าไหร่ถึงเรียกว่าจริงๆ แอดขอบอกเลยว่า ไม่มีค่า D/E Ratio ใดที่ดีสุดในทุกสถานการณ์ แม้โดยทั่วไปค่า DE Ratio ไม่ควรเกิน 2 เท่า แต่บางอุตสาหกรรม ระดับที่เหมาะก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น ลักษณะของอุตสาหกรรม เสถียรภาพของกระแสเงินสด
ดังนั้น DE ที่สูงก็เป็นเหมือนดาบสองคม ที่จะเป็นทั้งส่วนช่วยให้บริษัท เติบโต แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน
ข้อดีของ D/E Ratio ที่สูง
+ การเพิ่มผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Equity - ROE)
+ การลดต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Average Cost of Capital - WACC)
+ มีแหล่งเงินทุนเพื่อรองรับการเติบโต
ข้อเสียและความเสี่ยงของ D/E Ratio ที่สูง
- ความเสี่ยงทางการเงินที่เพิ่มขึ้น
- ต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น
- ความยืดหยุ่นทางการเงินที่ลดลง
D/E Ratio ในแต่ละอุตสาหกรรมและวัฎจักรเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรมที่ใช้เงินทุนสูง (Capital-Intensive Industries)
ธุรกิจอย่างโรงไฟฟ้า การผลิต การบิน โทรคมนาคม พวกนี้หนี้จะสูงเพราะต้องการทุรในการลงทุนสินทรัพย์ขนาดใหญ่
อุตสาหกรรมที่ใช้สินทรัพย์น้อย (Asset-Light Industries)
ธุรกิจบริการและเทคโนโลยีมักมีความต้องการเงินทุนในสินทรัพย์ถาวรน้อยกว่า จึงมีแนวโน้มที่จะมี D/E Ratio ที่ต่ำกว่า
กรณีพิเศษ: ภาคการเงินและประกันภัย: ธุรกิจธนาคารและประกันภัยมีโมเดลธุรกิจที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งทำให้มี D/E Ratio สูงเป็นปกติ "หนี้สิน" ของธนาคารรวมถึงเงินฝากของลูกค้าที่นำไปปล่อยกู้ต่อ ส่วน "หนี้สิน" ของบริษัทประกันภัยก็คือภาระผูกพันตามกรมธรรม์ในอนาคต ดังนั้น D/E Ratio ในระดับ 7-10 เท่าหรือสูงกว่าจึงอาจเป็นเรื่องปกติสำหรับกลุ่มนี้ และไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับบริษัทในภาคอุตสาหกรรมอื่นได้โดยตรง ความมั่นคงของสถาบันเหล่านี้จะถูกประเมินโดยใช้อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Capital Adequacy Ratio - CAR) เป็นหลัก
กรณีพิเศษ: ธุรกิจค้าปลีก: ผู้ค้าปลีก โดยเฉพาะกลุ่มที่ขายสินค้าเป็นเงินสดแต่ชำระเงินให้ซัพพลายเออร์เป็นสินเชื่อการค้า (เช่น CPALL) อาจมี D/E Ratio ที่สูงเนื่องจากมี "เจ้าหนี้การค้า" (Accounts Payable) จำนวนมาก ซึ่งมักถูกมองว่าเป็น "หนี้ที่ดี" เพราะไม่มีภาระดอกเบี้ยและสะท้อนถึงอำนาจต่อรองกับคู่ค้า
นอกจาก เราจะมอง D/E Ratio ผ่านเลนส์ ของอุตสาหกรรมแล้ว เรายังต้องมองผ่านเลนส์ ของวงจรชีวิตของบริษัทด้วย
อย่างช่วงเริ่มต้น/ช่วงเติบโตของกิจการ (Start-up/Growth Phase) บริษัทมักใช้หนี้สินในสัดส่วนที่สูงเพราะเป็นการลงทุนหนักตั้งแต่ช่วงต้น ตัวอย่างบริษัทเทค ที่ใช้เงินไปกับการลงทุนในแอป หรือ แพลตฟอร์ม ในช่วงแรก
ถือว่าเป็นเรื่องปกติ หากบริษัทจะมี D/E Ratio ที่สูง
แต่ หาก บริษัทอยู่ใน ช่วงอิ่มตัว (Mature Phase) บริษัทเติบโตเต็มที่แล้วและมีกระแสเงินสดมั่นคง และคาดการ์ณได้แล้ว ไม่ต้องใช้เงินทุนจากภายนอกเพื่อการเติบโตลดลงแล้ว หากบริษัทยังมีค่า D/E Ratio อาจเป็นสัญญาณของปัญหาของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นการบริหารที่ผิดพลาด หรือ การที่ใช้เงินกู้มากเกินไป
วิธีหาข้อมูลงบการเงิน หา D/E Ratio ผ่าน App Liberator
1.กด Quote หาหุ้นที่เราต้องการหาข้อมูล
2.เลื่อนลงมา กด Data แล้วเลือกอัตราส่วน
3. ดูอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
D/E Ratio บอกสัญญาณอันตราย หากมีการเพิ่มขึ้นรวดเร็ว ถือเป็นสัญญาณอันตรายอย่างหนึ่ง หากไม่มีการชี้แจงอย่างถูกต้อง
ตัวอย่าง ปีนี้ 1.5 เท่า → ปีหน้า 3.0 เท่า ก็แสดงให้เห็นว่าบริษัทกู้เงินมากเกินไป
DE สูง + เงินสดติดลบ + กำไรลดลง = สัญญาณอันตราย ควรเลี่ยง
เทคนิคการใช้ D/E Ratio ที่ควรจำ
1. ดู D/E Ratio
- DE < 1 = ปลอดภัย (ส่วนใหญ่)
- DE 1-2 = ปกติ (ต้องดูอุตสาหกรรม)
- DE > 3 = ระวัง (ยกเว้นธนาคาร)
2. ดูตัวเลขอื่นๆช่วย
- แนวโน้มกำไร
- กระแสเงินสด
- ธุรกิจขยายตัวหรือหดตัว
3. อย่าเลือกหุ้นโดยดูจาก D/E Ratio อย่างเดียว
- ดูร่วมกับ ROE, ROA, และ P/E
- เข้าใจบริบทของธุรกิจ
เมื่อเราเข้าใจ D/E Ratio แล้วอยากเข้าใจตัวเลขอื่นๆ อยากเติมความรู้เรื่องพื้นฐานให้เติม แต่ไม่รู้จะไปเรียนที่ไหน
ให้ Liberator ช่วยคุณในเรื่องนี้ แค่เปิดบัญชีก็เรียนฟรี ด้วยคลาสหุ้นกว่า 70+ คลาสเรียน ที่ครบครันทั้งหุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ กองทุน และสินทรัพย์อื่นๆ อีกเพียบ
เรียนได้ทั้ง มือใหม่ มือเก๋า