ทำความเข้าใจระบบส่งคำสั่งของ TradingView

1. รู้จักกับการส่งคำสั่ง 4 ประเภท Market, Limit และ Stop Limit


คำสั่ง Stop Order

1. รู้จักคำสั่ง Stop Order
2. ตัวอย่างการใช้งาน #1 - Buy Stop - ซื้อเมื่อหุ้น Breakout ราคา High ล่าสุดได้
3. ตัวอย่างการใช้งาน #2 - Sell Stop - ขายเมื่อหุ้นหลุดแนวรับ
4. ตัวอย่างการใช้งาน #3 - ใช้คำสั่ง Buy Stop  และ Sell Stop ร่วมกัน เพื่อแบ่งขายทำกำไร และ Stop Loss

คำสั่ง Stop Limit

1. รู้จักคำสั่ง Stop Limit
2. ตัวอย่างการใช้งาน #1 - Buy Stop Limit - ซื้อเมื่อหุ้น Breakout ราคา High ล่าสุดได้ และย่อลงมาที่แนวต้านเก่า ซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวรับใหม่
3. ตัวอย่างการใช้งาน #2 - Sell Stop Limit - รอหุ้นหลุดแนวรับจริงๆก่อน และค่อยตั้งราคาขายเมื่อหุ้นรีบาวน์กลับมาทดสอบแนวรับเก่า ซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวต้านใหม่

ข้อควรระวังที่ส่วนใหญ่มักเข้าใจผิด

 

 

  • ซื้อ Breakout แต่ถ้าหุ้น False Break จะ Stop Loss
  • รอหุ้น Breakout จากกรอบสะสมไปก่อน แล้วค่อยซื้อตอนที่ Pullback ลงมา
  • Stop Loss ทันทีที่หุ้นหลุดแนวรับ
  • รอหุ้นหลุดแนวรับจริงๆก่อน แล้วรอ Rebound ค่อย Stop Loss

กลยุทธ์การเทรดหุ้นเหล่านี้ดูคุ้นๆใช่ไหมครับ เป็นสิ่งที่เทรดเดอร์อย่างเราๆมักจะทำกันตามปกติ

เมื่อหุ้นเบรกแนวต้านได้เราก็ซื้อ หรือรอย่อแล้วซื้อ เราซื้อแพง เพื่อไปขายแพงกว่า ตามฉบับของเทรดเดอร์ที่เล่นหุ้นในแนวโน้มขาขึ้น ถ้าหากหุ้นเกิดการ False Break หรือหลุดจากแนวรับ เราก็แค่ Stop Loss ออกไปตามแผนเท่านั้นเอง ส่วนใหญ่แล้ว ณ จุดราคาที่มีนัยยะสำคัญ เช่น ก่อนจะเบรกแนวต้าน หรือ ก่อนจะหลุดแนวรับ ทุกอย่างจะรวดเร็วมาก เช่น พอเบรกปุ๊บ ราคาก็จะพุ่งขึ้นไปเลย หรือพอหลุดแนวรับ ราคาก็ร่วงเป็นแท่งแดงยาว ดังนั้นเราต้องตัดสินใจให้คม คีย์ซื้อขายให้ไว จึงจะทำได้ทัน

จริงๆแล้วเรื่องพวกนี้ทำได้ไม่ยากเท่าไหร่ ถ้าเราเฝ้าหน้าจอ ดูหุ้นตัวนั้นๆอยู่ตลอดเวลา ... แต่ถ้าเราทำงานประจำล่ะ หรือไม่สามารถเฝ้าจอได้เยอะขนาดนั้นล่ะ ? เราจะต้องเสียโอกาสในการเทรดไป หรือพอร์ตจะต้องเสียหายเพราะ Stop Loss ไม่ทันจริงๆหรือ ?

คำตอบคือ เมื่อก่อนอาจจะใช่ เราคงต้องเลือก Timeframe และ Trade Setup ที่ไม่ไวมาก เพื่อที่จะได้ Action ทุกอย่างได้ทันท่วงที

 

แต่ในปัจจุบันนี้ ที่ Liberator มีเครื่องมือที่จะช่วยอำนวยความสะดวกตรงนี้ให้กับเพื่อนๆทุกคนได้ใช้ฟรีๆ

เครื่องมือนี้ก็คือ TradingView Trade on Chart ที่จะทำให้เพื่อนๆส่งคำสั่งผ่าน TradingView ได้เลย

 

การส่งคำสั่งผ่าน TradingView สามารถเลือกได้ 4 รูปแบบ

  1. Market Price - ส่งคำสั่งซื้อ หรือขาย ณ ราคาตลาดในขณะนั้น ระบบจะจับคู่กับราคาที่มีอยู่ในตลาดทันที
  2. Limit Price - ส่งคำสั่งซื้อ หรือขาย ด้วยราคาที่เราระบุไว้
  3. Stop Order - ส่งคำสั่งซื้อ หรือขาย ณ ราคาตลาด (MP-MTL) เมื่อราคาวิ่งมาถึงระดับที่กำหนด (Stop Price)
  4. Stop Limit - ส่งคำสั่งซื้อ หรือขาย ด้วยราคาที่เราระบุ (Limit Price) เมื่อราคาวิ่งมาถึงระดับที่กำหนด (Stop Price)

คำสั่งประเภท Market และ Limit นั้น เป็นคำสั่งที่เราคุ้นชินกันอยู่แล้วเป็นปกติ แต่สำหรับคำสั่ง Condition Order 2 คำสั่ง ได้แก่ Stop Order และ Stop Limit นั้น หลายคนอาจจะยังไม่คุ้นมากเท่าไหร่ ซึ่ง 2 คำสั่งนี้แหละ ที่จะช่วยให้เราสามารถออกแบบกลยุทธ์การเทรดได้ทุกรูปแบบ ตามที่เราต้องการนั่นเอง

 

วันนี้เราจะมาแนะนำคำสั่ง Stop Order และ Stop Limit พร้อมกับตัวอย่างวิธีการใช้งานกันนะครับ

 

รู้จักกับคำว่า Stop Price กันก่อน

เวลาเรายิงปืนนั้น ก่อนที่ลูกกระสุนจะวิ่งผ่านปากกระบอกปืนตรงไปยังเป้าหมาย สิ่งที่ต้องเกิดขึ้นก่อนก็คือ ‘การลั่นไก’ Stop Price นั้นเปรียบเสมือนไกปืน ที่จะคอยลั่นไกเพื่อส่งคำสั่ง เมื่อเงื่อนไขต่างๆตรงกันกับที่เราได้ตั้งไว้ครับ

เราตั้ง Stop Price เพื่อเป็นราคาอ้างอิงที่จะให้ระบบส่งคำสั่งตามที่เราต้องการ

  • ตอนที่ตั้ง Condition Order - หากตั้งราคา Stop Price ต่ำกว่า ราคาปัจจุบัน - คำสั่งจะทำงานเมื่อ ราคาหุ้นลงมาเท่ากับ หรือน้อยกว่า ราคา Stop Price
  • ตอนที่ตั้ง Condition Order - หากตั้งราคา Stop Price สูงกว่า ราคาปัจจุบัน - คำสั่งจะทำงานเมื่อ ราคาหุ้นขึ้นไปเท่ากับ หรือมากกว่า ราคา Stop Price

 

ฟังแบบนี้อาจจะยังเข้าใจยาก เดี๋ยวเรามารู้จักคำสั่ง Condition Order แต่ละประเภท และตัวอย่างไปพร้อมๆกันเลยนะครับ

 

คำสั่ง Stop Order

คำอธิบาย - ระบบจะส่งคำสั่งซื้อ หรือขาย แบบ MP-MTL (ขายที่ Bid และซื้อที่ Offer) เมื่อราคาหุ้นขึ้น หรือ ลงมาแตะราคา Stop Order

การใช้งาน

  • ต้องการซื้อแบบเคาะขวาทันที (ซื้อที่ราคา Offer ในขณะนั้น) เมื่อราคาหุ้นมาถึงจุดที่เรากำหนด
  • ต้องการขายแบบโยนซ้ายทันที (ขายที่ราคา Bid ในขณะนั้น) เมื่อราคาหุ้นมาถึงจุดที่เรากำหนด

 

 

ตัวอย่างการใช้งาน #1 - Buy Stop - ซื้อเมื่อหุ้น Breakout ราคา High ล่าสุดได้ 

ในกรณีแรกนี้ เราใช้ในการซื้อเมื่อหุ้น Breakout ราคา High ล่าสุดได้

วิเคราะห์กราฟ : จากกราฟตัวอย่าง เรามองว่าหุ้นตัวนี้ มีราคา High หรือ แนวต้านอยู่ที่ 30.50 บาท ต่อมา ราคามีการย่อตัวลงมาทำ Low ที่ประมาณ 27 บาท ซึ่งเป็นการทำ Higher Low 

ดังนั้นแล้ว แผนของเราก็คือ เมื่อราคาหุ้นสามารถเบรก 30.50 ได้ (ราคาขึ้นไปแตะที่ 30.75 - 31.00) เราจะทำการซื้อทันที และตั้ง Stop Loss และ จุด Take Profit รอไว้เลย เนื่องจากทำงานประจำ อาจจะไม่มีเวลาเฝ้าจอ 

  1. เลือกคำสั่งแบบ Stop และตั้งซื้อไว้ที่ราคา 31.00
  2. ตั้งจุดทำกำไรที่แนวต้านใหญ่ คือ 37.00 บาท 
  3. เรามองว่า ถ้าหุ้น Break ขึ้นไปถึงราคาที่ 31.00 แล้ว ไม่ควรจะย่อลงมาที่ 29.75 ดังนั้นจึงตั้งไว้ว่า ถ้าลงมาถึงราคา 29.75 นี้ จะขายหุ้นออกทันที เพื่อเป็นการ Stop Loss

 

สิ่งที่จะเกิดขึ้น เมื่อเราตั้งค่าแบบนี้ 

  1. เมื่อหุ้นขึ้นไปแตะที่ราคา 31.00 บาท ระบบจะทำการสั่งซื้อแบบ MP-MTL ให้เราทันที มั่นใจว่าได้ของแน่นอน
  2. หลังจากที่ Matched เรียบร้อย ระบบจะทำการส่งคำสั่งขายที่ 37.00 บาท (คำสั่งนี้จะมีอายุ 1 วัน ต้องมาตั้งใหม่ทุกวัน)
  3. ถ้าหากหุ้นขึ้นไปไม่ถึง 37.00 บาท และลงมาที่ 29.75 บาท ระบบจะทำการ Cancel คำสั่งซื้อ ที่ 37.00 บาท และขายที่ MP-MTL ให้ทันที

 

ข้อควรระวัง 

  • คำสั่ง TP / SL จะทำงานวันต่อวันเท่านั้น ดังนั้นต้องมาตั้งใหม่ทุกวันนะครับ

 

ตัวอย่างการใช้งาน #2 - Sell Stop - ขายเมื่อหุ้นหลุดแนวรับ 

ในกรณีที่ 2 นี้ เราจะใช้คำสั่ง Stop Order ในการขาย เมื่อราคาหลุดแนวรับ 

วิเคราะห์กราฟ : จากกราฟตัวอย่าง เรามองว่าหุ้นตัวนี้ มีแนวรับอยู่ที่ 1.72 บาท (เส้นสีขาวที่ตีไว้) ดังนั้นแล้ว แผนของเราก็คือ เมื่อราคาหุ้นหลุดแนวรับ 1.72 ลงมา ไปถึง 1.70 เราจะ Stop Loss ทันที

  1. เลือกคำสั่งแบบ Stop และตั้งราคา Stop Price ไว้ที่ 1.70

 

สิ่งที่จะเกิดขึ้น เมื่อเราตั้งค่าแบบนี้ 

  1. เมื่อหุ้นลงมาแตะที่ราคา 1.70 บาท ระบบจะทำการสั่งขายแบบ MP-MTL ให้เราทันที

 

ข้อควรระวัง 

  • เมื่อคำสั่ง Stop Order ทำงาน ระบบจะทำการขายแบบ MP-MTL ให้เราทันที แต่ถ้าเรามีการตั้งคำสั่งขายแบบ Limit Sell รอไว้อยู่แล้ว และเรามีหุ้นจำนวนหุ้นไม่เพียงพอที่จะขาย ระบบจะ Cancelled คำสั่งนี้ ทำให้เราไม่สามารถขายหุ้นตามที่ตั้งใจได้

 

ตัวอย่างการใช้งาน #3 - ใช้คำสั่ง Buy Stop  และ Sell Stop ร่วมกัน เพื่อแบ่งขายทำกำไร และ Stop Loss 

แล้วถ้าเราอยากแบ่งขายหุ้น แต่ไม่อยากขายไม้เดียว แล้วก็ยังอยากวาง Stop Loss อยู่ดี จะทำยังไง ? ในกรณีนี้ เราสามารถใช้คำสั่ง Stop Buy และ Stop Sell ร่วมกันได้ครับ 

วิเคราะห์กราฟ : จากกราฟตัวอย่างนี้ 

  1. ไม้แรก - ส่งคำสั่งขายแบบ Sell Stop ไว้ที่ 1.94 บาท จำนวน 100 หุ้น 
  2. ไม้ที่ 2 - ส่งคำสั่งขายแบบ Sell Stop ไว้ที่ 1.99 บาท จำนวน 100 หุ้น
  3. ไม้ที่ 3 - ส่งคำสั่งขายแบบ Sell Stop ไว้ที่ 2.04 บาท จำนวน 100 หุ้น 
  4. วาง Stop Loss - ส่งคำสั่งขายแบบ Sell Stop ที่ 1.70 จำนวน 300 หุ้น

 

สิ่งที่จะเกิดขึ้น เมื่อเราตั้งค่าแบบนี้

  1. ถ้าหุ้นไม่แมทซ์เลยซักหุ้น และลงไปแตะที่ราคา 1.70 ระบบจะทำการส่งคำสั่งแบบ MP-MTL เพื่อทำการ Stop Loss ให้ทันที จำนวน 300 หุ้น
  2. ถ้าหุ้นขึ้นไป 1.94, 1.99 หรือ 2.04 บาท ระบบจะส่งคำสั่งแบบ MP-MTL ให้ ทีละ 100 หุ้น เพื่อทำการขายทำกำไรให้เรา

 

ข้อควรระวัง

  • ถ้าหุ้นขึ้นไปที่ 1.94 บาท ระบบจะส่งคำสั่งขายให้ 100 หุ้น ทำให้เราเหลือหุ้นในพอร์ตเพียง 200 หุ้น แต่หากหลังจากนั้น หุ้นลงมาแตะที่ราคา 1.70 บาท ระบบจะส่งคำสั่งขายแบบ MP-MTL จำนวน 300 หุ้น ซึ่งเรามีหุ้นไม่พอในพอร์ต (เพราะขายออกไป 100 หุ้นแล้ว) ดังนั้น ระบบจะทำการ Rejected คำสั่งขายนี้ทันที ทำให้เราไม่สามารถ Stop Loss ได้

ในกรณี้  เราสามารถแก้ไขได้โดยการ ซอยไม้ Stop Loss ให้เหลือไม้ละ 100 หุ้น จำนวน 3 ไม้ เท่ากับคำสั่งขายทำกำไร

 

คำสั่ง Stop Limit

คำอธิบาย - ระบบจะส่งคำสั่งซื้อ หรือขาย แบบ Limit เมื่อราคาหุ้นขึ้น หรือ ลงมาแตะราคา Stop Price

การใช้งาน

  • ต้องการซื้อโดยระบุราคา (Limit Price) เมื่อราคาหุ้นมาถึงจุดที่เรากำหนด
  • ต้องการขายโดยระบุราคา (Limit Price) เมื่อราคาหุ้นมาถึงจุดที่เรากำหนด 

 

ตัวอย่างการใช้งาน #1 - Buy Stop Limit - ซื้อเมื่อหุ้น Breakout ราคา High ล่าสุดได้ และย่อลงมาที่แนวต้านเก่า ซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวรับใหม่

ในกรณีแรกนี้ เราใช้ในการซื้อเมื่อหุ้น Breakout ราคา High ล่าสุดได้ แต่เราจะซื้อเมื่อหุ้นย่อลงมาทดสอบแนวรับใหม่ (ซึ่งเป็นแนวต้านเก่าที่เบรกขึ้นมา)

วิเคราะห์กราฟ : จากกราฟตัวอย่าง เรามองว่าหุ้นตัวนี้ มีราคา High หรือ แนวต้านอยู่ที่ 30.50 บาท ต่อมา ราคามีการย่อตัวลงมาทำ Low ที่ประมาณ 27 บาท ซึ่งเป็นการทำ Higher Low 

ดังนั้นแล้ว แผนของเราก็คือ เมื่อราคาหุ้นสามารถเบรก 30.50 ได้ จนราคาขึ้นไปแตะที่ 31.25 เพื่อความแน่ใจ เราจะทำการส่งคำสั่งซื้อที่ 30.50 บาท ซึ่งเป็นแนวต้านเก่า ที่ทำหน้าที่เป็นแนวรับใหม่ และตั้ง Stop Loss และ จุด Take Profit รอไว้เลย เนื่องจากทำงานประจำ อาจจะไม่มีเวลาเฝ้าจอ 

  1. เลือกคำสั่งแบบ Stop Limit และตั้ง Stop Price ไว้ที่ 31.25 บาท
  2. ตั้ง Limit Price ไว้ที่ 30.50 บาท
  3. ตั้งจุดทำกำไรที่แนวต้านใหญ่ คือ 37.00 บาท 
  4. เรามองว่า ถ้าหุ้น Break ขึ้นไปถึงราคาที่ 31.25 แล้ว ไม่ควรจะย่อลงมาที่ 29.75 ดังนั้นจึงตั้งไว้ว่า ถ้าลงมาถึงราคา 29.75 นี้ จะขายหุ้นออกทันที เพื่อเป็นการ Stop Loss

 

สิ่งที่จะเกิดขึ้น เมื่อเราตั้งค่าแบบนี้ 

  1. เมื่อหุ้นขึ้นไปแตะที่ราคา 31.25 บาท ระบบจะทำการสั่งซื้อให้ที่ราคา 30.50 บาท
  2. หลังจากที่ Matched เรียบร้อย ระบบจะทำการส่งคำสั่งขายที่ 37.00 บาท (คำสั่งนี้จะมีอายุ 1 วัน ต้องมาตั้งใหม่ทุกวัน)
  3. ถ้าหากหุ้นขึ้นไปไม่ถึง 37.00 บาท และลงมาที่ 29.75 บาท ระบบจะทำการ Cancel คำสั่งซื้อ ที่ 37.00 บาท และขายที่ MP-MTL ให้ทันที

 

ข้อควรระวัง 

  • คำสั่ง TP / SL จะทำงานวันต่อวันเท่านั้น ดังนั้นต้องมาตั้งใหม่ทุกวันนะครับ
  • ถ้าเกิดว่าหุ้น Breakout ไปเลย และไม่ย่อกลับมาที่ราคา 30.50 เราก็จะไม่ได้หุ้น ซึ่งถือเป็นข้อเสียของวิธีนี้นั่นเอง

Tips จากตัวอย่างนี้ ถ้าเราไม่ต้องการรอซื้อเมื่อหุ้นย่อลงมาทดสอบแนวรับ แต่ต้องการจะ Follow Buy ทันทีที่หุ้นสามารถ Breakout เราสามารถเลือกใช้คำสั่ง Buy Stop Order เพื่อทำการซื้อแบบ MP-MTL หรือ ใช้คำสั่ง Stop Limit แต่ตั้ง Stop Price และ Limit Price ไว้ที่ 31.00 แทนก็ได้

เมื่อราคาหุ้นแตะที่ 31 บาท ระบบจะส่งคำสั่งซื้อที่ราคา 31 บาทขึ้นไปแทน 

 

ตัวอย่างการใช้งาน #2 - Sell Stop Limit - รอหุ้นหลุดแนวรับจริงๆก่อน และค่อยตั้งราคาขายเมื่อหุ้นรีบาวน์กลับมาทดสอบแนวรับเก่า ซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวต้านใหม่

ในกรณีที่ 2 นี้ เราจะใช้คำสั่ง Stop Limit ในการขาย เมื่อราคาหลุดแนวรับ 

วิเคราะห์กราฟ : จากกราฟตัวอย่าง เรามองว่าหุ้นตัวนี้ มีแนวรับอยู่ที่ 1.72 บาท (เส้นสีขาวที่ตีไว้) ดังนั้นแล้ว แผนของเราก็คือ เมื่อราคาหุ้นหลุดแนวรับ 1.72 ลงมา ไปถึง 1.69 เราค่อยส่งคำสั่งขายที่ 1.72 ซึ่งเป็นแนวรับเก่า

  1. เลือกคำสั่งแบบ Sell Stop Limit และตั้งราคา Stop Price ไว้ที่ 1.69 บาท
  2. ตั้งราคา Limit Price ที่ 1.72 บาท จำนวน 300 หุ้น

 

สิ่งที่จะเกิดขึ้น เมื่อเราตั้งค่าแบบนี้ 

  1. เมื่อหุ้นลงมาแตะที่ราคา 1.69 บาท ระบบจะทำการสั่งขายที่ราคา 1.72 บาท

 

ข้อควรระวัง 

  • ถ้าหุ้นราคาหลุดแนวรับ และไม่มีการรีบาวน์มาทดสอบแนวต้านใหม่ที่เรามองไว้ พอร์ตอาจจะเสียหายหนักขึ้น

 

Tips จากตัวอย่างนี้ ถ้าเราไม่ต้องการรอขายหุ้นเมื่อหุ้นรีบาวน์มาทดสอบแนวต้าน แต่ต้องการจะ Stop Loss ทันทีที่หุ้นหลุดแนวรับ เราสามารถเลือกใช้คำสั่ง Sell Stop Order เพื่อทำการขายแบบ MP-MTL หรือ ใช้คำสั่ง Stop Limit แต่ตั้ง Stop Price และ Limit Price ไว้ที่ซัก 1.71 แทนก็ได้

เมื่อราคาหุ้นแตะที่ 1.71 บาท ระบบจะส่งคำสั่งขายที่ราคา 1.71 บาทขึ้นไปแทน

 

------------

ข้อควรระวัง ที่ส่วนใหญ่มักเข้าใจผิด และทำผิดพลาด 

จากภาพตัวอย่างนี้ มีเพื่อนๆเข้าใจผิดอยู่มาก คือ

  1. ซื้อหุ้นไว้ที่ราคา 1.37 จำนวน 300 หุ้น
  2. ตั้งแบ่งขายแบบ Limit Price ไว้ที่ราคา 1.41, 1.43, 1.45 บาท ตามลำดับ อย่างละ 100 หุ้น
  3. ตั้ง Sell Stop ( คำสั่งขายแบบ Stop Order ) ไว้ที่ 1.30 บาท จำนวน 300 หุ้น

 

สิ่งที่เพื่อนๆมักเข้าใจผิด -  ถ้าคำสั่งขายของเรา ยังไม่ Matched และหุ้นลงมาแตะราคา 1.30 หรือน้อยกว่า ระบบจะส่งคำสั่งแบบ Stop Order ให้ เพื่อตัดขาดทุนให้ทันที

สิ่งที่เกิดขึ้นจริง - เมื่อราคาหุ้นลงมาแตะที่ 1.30 หรือน้อยกว่า ระบบจะส่งคำสั่งขายแบบ MP-MTL ให้ แต่จะถูก Reject ทิ้ง เพราะเรายังมีคำสั่งขายค้างอยู่ จึงทำให้เราจำนวนหุ้นไม่พอมาขายนั่นเอง

 

ถ้าต้องการจะส่งทั้งคำสั่งซื้อ ขายทำกำไร และตั้งตัดขาดทุนไว้พร้อมๆกันต้องทำยังไง ?

ต้องใช้คำสั่ง TP / SL หรือ ใช้ออกแบบด้วยคำสั่ง Stop Order / Stop Limit นะคะ (ตามตัวอย่างที่ 3)

 

----------

 

ได้ไอเดียกันแล้วใช่ไหมนะ

กรณีต่างๆนี้ เรายกตัวอย่างขึ้นมาเพื่อเป็นไอเดียให้กับเพื่อนๆในการส่งคำสั่งซื้อขาย ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับหน้าเทรดของตัวเอง แต่ละวิธีอาจจะมีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกันไป

ใจความสำคัญหลักๆที่ต้องทำความเข้าใจ คือ หลักการการทำงานของ Stop Order และ Stop Limit

ถ้าเกิดสิ่งนี้  >>> จะทำสิ่งนี้

หรือก็คือ (ราคาหุ้นขึ้นมาสูงกว่าหรือเท่ากับ หรือ ลงมาต่ำกว่าหรือเท่ากับ ราคา xxx บาท) >>> จะส่งคำสั่ง ซื้อ (หรือขาย) ด้วยราคา ตลาด (MP-MTL) หรือ ราคาที่ระบุไว้ (Limit)

ถ้าเข้าใจตรงนี้ได้ ก็สามารถออกแบบเงื่อนไขต่างๆได้ยืดหยุ่นเท่าที่จะต้องการเลยนะครับ

 

----------

 

ดังนั้นแล้ว แม้ว่าจะทำงานประจำ มีธุรกิจต้องดูแล ไม่มีเวลาเฝ้าจอ ก็สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ทั้งหมด 

  • ซื้อ Breakout แต่ถ้าหุ้น False Break จะ Stop Loss > ใช้ฟังก์ชั่น Buy และตั้ง TP/SL ยังไงล่ะ 
  • รอหุ้น Breakout จากกรอบสะสมไปก่อน แล้วค่อยซื้อตอนที่ Pullback ลงมา > ตั้ง Buy Stop Limit เลย
  • Stop Loss ทันทีที่หุ้นหลุดแนวรับ > ใช้ฟังชั่น TP/SL หรือไม่ก็ Stop Order 
  • รอหุ้นหลุดแนวรับจริงๆก่อน แล้วรอ Rebound ค่อย Stop Loss > ตั้ง Sell Stop Limit โลด

ทุกกลยุทธ์การเทรดที่เรามักจะใช้งานกัน ตั้งได้ผ่าน Condition Order ของ TradingView นี้ 

และที่สำคัญคือ "ฟรี" 

 

หมดทุกข้ออ้างว่าซื้อไม่ทันเพราะตอบลูกค้าอยู่ หรือคัทไม่ทันเพราะติดประชุม ขึ้นอยู่กับเราแล้วนะ ว่าจะเปิดใจนำเครื่องมือล้ำๆมาใช้เทรดให้ชีวิตง่ายขึ้นมั้ย : ) 

 

----

พร้อมที่จะใช้เครื่ืองมือ ในการยกระดับการเทรดของตัวเองแล้ว ทำยังไงต่อ ? 

ศึกษาวิธีเชื่อมต่อบัญชี และวิธีส่งคำสั่งซื้อขาย 3 วิธี แบบใช้หน้าต่าง Order (คล้ายกับในแอปฯ Liberator) , DOM (เหมือนฟังก์ชั่น Click) , และเทรดโดยการลากกราฟ ได้เลยที่

  1. วิธีเชื่อมต่อบัญชี - https://go.liberator.co.th/xlnX/tdvconnect
  2. วิธีการส่งคำสั่งซื้อขาย - https://go.liberator.co.th/xlnX/tdvmanual

ยังไม่มีบัญชีกับ Liberator ? เปิดบัญชีได้เลยที่นี่

ใช้เวลาประมาณ 10 นาที เทรดฟรี 1 เดือน หลังจากนั้นเทรดผ่านเรตค่าคอมฯ ที่คุ้มค่าที่สุด พร้อมเครื่องมือการเทรด และคอนเทนต์ความรู้ที่มากมาย