หน้าแรกLIB Learn3 ทางออก ที่เลือกใช้ได้แค่ 2 เรียนรู้นโยบายฝ่าวิกฤตการเงิน '101'

3 ทางออก ที่เลือกใช้ได้แค่ 2 เรียนรู้นโยบายฝ่าวิกฤตการเงิน ‘101’

-Data Driven-

Impossible Trinity หรือสามเหลี่ยมที่เป็นไปไม่ได้ 

เป็นหนึ่งทฤษฎีในการเงินสำคัญของโลกที่มีผลโดยตรงกับอัตราเเลกเปลี่ยน หยวนเเข็งค่า-ธนาคารกลางจีนเข้าเเทรกเเซง !! เยนอ่อนค่า-ธนาคารกลางญี่ปุ่นเข้าเเทรกเเซง !! พาดหัวข่าวเหล่านี้ อธิบายได้ด้วย Impossible Trinity ทั้งหมด เริ่มครับ !!

Impossible trinity หรือสามเหลี่ยมที่เป็นไปไม่ได้ ประกอบไปด้วยนโยบายการเงินสามทางที่เลือกได้เเค่สองเท่านั้น

1) Fixed Exchange rate >> ขอกำหนดอัตราเเลกเปลี่ยนคงที่
2) Free Capital Flow >> การอนุญาตให้เงินไหลเข้าออกอิสระ
3) Monetary Autonomy >> ขอกำหนดโนบายทางการเงิน เช่น ดอกเบี้ยเอง

ถ้าจำไปดื้อๆเเบบนี้
รับรองว่ามึนตึ๊บ !! มันเลยต้องมีหลักการทำความเข้าใจ

จากกฏเกณฑ์ทั้งสามข้อเราจะเห็นว่าข้อที่ “ฝืนธรรมชาติ” ที่สุดคือข้อ 1 หรือการกำหนดอัตราเเลกเปลี่ยนคงที่ เพราะมันฝืนกลไก Demand-Supply ของตลาดชัดเจน ดอกเบี้ยดี เศรษฐกิจดี เงินนอกไหลเข้า ค่าเงินก็เเข็ง ดอกเบี้ยต่ำ เศรษฐกิจเเย่ เงินก็ไหลออก ค่าเงินก็อ่อน นี่เป็นธรรมชาติของตลาด เพราะเงินจะวิ่งหาที่สูงเสมอ เเละเนื่องด้วยการเข้าไปคุมอัตราเเลกเปลี่ยนเป็นการฝืนธรรมชาติเเละฝืนกลไกตลาด ทำให้นโยบายการเงินของธนาคารกลางโดยมากทั่วโลกเลือกที่จะใช้ข้อ 2 กับ 3 คือ Free Capital Flow เเละ Monetary Autonomy คือการยอมปล่อยให้เงินทุนไหลเข้าออกอิสระ เเละธนาคารกลางของประเทศนั้นๆ ขอกำหนดอัตราดอกเบี้ยเองตาม Demand – Supply ที่เกิดขึ้น

เพราะฉะนั้นประเทศที่เลือกข้อ 1 จะมีกลิ่นของความต้องการใน”ควบคุม”สูงมาก

ยิ่งถ้าเลือก 1) กับ 3) หมายถึง อัตราเเลกเปลี่ยนก็จะคุม อัตราดอกเบี้ยก็จะคุม หมายถึงประเทศที่ต้องการมี Full Control กับเงินของประเทศตัวเอง
พอเห็นลักษณะการ”ควบคุม”เเบบนี้ ประเทศที่นึกออกเป็นที่เเรกๆก็เห็นจะไม่พ้น

“ประเทศจีน”

ประเทศจีนจึงเป็นประเทศที่เลือกใช้นโยบายของ Impossible Trinity 1) กับ 3) เพราะฉะนั้นจีนจะปล่อยให้เงินทุนไหลเข้าออกอย่างอิสระไม่ได้ ไม่งั้นจะมี Demand ทะลักเข้ามาเก็งกำไรส่วนต่างดอกเบี้ยจนเศรษฐกิจพัง 

คราวนี้ก็จะมีประเทศที่เลือกอีกเเบบใน Impossible trinity คือการขอเลือก 1) กับ 2) ซึ่งก็คือการขอ Fixed อัตราเเลกเปลี่ยน เเละขอให้เงินทุนไหลเข้าออกอิสระได้

เเปลว่าเป็นประเทศที่ใช้นโยบายเเบบนี้ต้องการสร้างความ “เสถียร” ของค่าเงินที่ไหลเข้าออกจึงน่าจะเป็นประเทศที่พึ่งพา Financial Service เป็นหลัก เเละต้องการให้ตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางการเเลกเปลี่ยนการเงินของโลก

พอเข้าใจลักษณะนโยบายเเบบนี้
เราเลยจะนึกถึงประเทศที่เหมาะสมอย่าง
” ฮ่องกง “

ฮ่องกงจึงเป็นที่ที่ใช้นโยบายการเงินข้อ 1) เเละ 2) เเต่เเน่นอนว่า ฮ่องกงต้องยอมต้องสูญเสียข้อสามไป ด้วยการไม่สามารถดำเนินนโยบายการเงินของตัวเองเช่นการขึ้นดอกเบี้ยได้เอง เเต่ต้องปรับนโยบายการเงินไปตามประเทศที่ตัวเอง Peg อยู่ซึ่งก็คือสหรัฐ

จึงเป็นที่มาว่าทำไมการคุมอัตราเเลกเปลี่ยน HKDUSD ต้องพึ่งพานโยบายดอกเบี้ยของสหรัฐเป็นหลัก

มันเคยมีครับกับประเทศที่ “ฝืน” กฏ Impossible Trinity เเล้วเจ็บตัวหนักมาก
เดิมปล่อยเงินทุนไหลเข้าออกอิสระ (2)
เเละเลือกมีนโยบายการเงินของตัวเอง (3)
เเต่ดันอยากคุมอัตราเเลกเปลี่ยนคงที่ (1) ไปด้วบ
นั่นคือ “ประเทศไทย” เเละเกิดเป็นวิกฤตที่เรารู้จักกันชื่อวิกฤตต้มยำกุ้ง

จบวิชาเศรษฐศาสตรข้างบ้าน 101 ประจำวันนี้
อย่าเรียนเเบบท่องจำ
เเต่ให้เรียนด้วยความเข้าใจ
เเล้วโลกการเงิน
จะสนุกขึ้นเยอะครับ

28.08.2022

———————————————————-
ติดตาม ‘Liberator’ ได้ทุกช่องทางของคุณ
Instagram : liberator_th
Twitter : th_Liberator
Blockdit : Liberator
Facebook : Liberator Securities
.
𝗣𝗢𝗪𝗘𝗥 𝗜𝗡 𝗬𝗢𝗨𝗥 𝗛𝗔𝗡𝗗
𝗧𝗵𝗲 𝗻𝗲𝘄 𝘁𝗿𝗮𝗱𝗶𝗻𝗴 𝗽𝗼𝘄𝗲𝗿 𝘁𝗵𝗮𝘁 𝘁𝗿𝘂𝗹𝘆 𝗯𝗲𝗹𝗼𝗻𝗴𝘀 𝘁𝗼 𝗮𝗹𝗹 𝘁𝗿𝗮𝗱𝗲𝗿𝘀.


PHP Code Snippets Powered By : XYZScripts.com

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า